18 มีนาคม 2552

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม

คุณธรรมและจริยธรรมเป็นเสมือนบทบัญญัติของความดีและความงามของจิตใจที่ส่งผลให้บุคคลประพฤติดีประพฤติชอบ คุณธรรมและจริยธรรมจึงเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญต่อการประกอบการในวิชาชีพของบุคคลในทุกสาขาอาชีพ การทำความเข้าใจกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมจะทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพมีความตระหนักถึงคุณประโยชน์และโทษที่เป็นผลได้ให้ความหมายของคุณธรรมและจริยธรรมทั้งที่เป็นพื้นฐานของความคิดและความหมายที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับพฤติกรรมในด้านอื่น ๆ ด้วย ดังที่ อาริสโตเติล (Aristotle) ได้กล่าวถึงความหมายของธรรมชาติและคุณธรรมจริยธรรมว่าเป็นคุณลักษณะที่ทำให้ปัจเจกชนทั้งหลายอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข (จำเริญรัตน์ เจือจันทร์, 2548) ความสุขจึงมีความเชื่อมโยงกับคุณธรรมและจริยธรรมด้วยเช่นกัน จากผลการศึกษาและงานวิจัยคุณธรรมและจริยธรรมในหลายสถานการณ์ที่แตกต่างกันจะทำให้เกิดความเข้าใจพฤติกรรมด้านคุณธรรมและจริยธรรม
ความหมายของคุณธรรมและจริยธรรม
คุณธรรม ประกอบด้วยคำสองคำ คือ คำว่า คุณ แปลว่า ประโยชน์ และคำว่า ธรรม ในทำนองเดียวกัน กับคำว่า จริยธรรม ก็ประกอบด้วยคำว่า จริย แปลว่า ความประพฤติที่พึงประสงค์ ทั้งคุณธรรมและจริยธรรม คำว่า ธรรม เป็นคำร่วม ซึ่ง พระเทวินทร์ เทวินโท (2544) อธิบายความหมายของคำว่าธรรมว่า หมายถึง ความจริง ความประพฤติดี ความถูกต้อง ความดี ความชอบ คำสั่งสอน ดังนั้นเพื่อความเข้าใจความหมายของทั้งสองคำนี้ จึงควรพิจารณาคำนิยามตามแนวทัศนะของจริยศาสตร์และ
คำว่า คุณธรรม (Moral) และ จริยธรรม (Ethics) ในทัศนะของจริยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีความหมายดังต่อไปนี้
คุณธรรม หมายถึง หลักจริยธรรมที่สร้างความรู้สึกผิดชอบชั่วดี มีคุณงามีวามดีภายในจิตใจอยู่ในขั้นสมบูรณ์จนเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขความยินดี (ประภาศรี สีหอำไพ,2543)
คุณธรรม หมายถึงสิ่งที่บุคคลยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ดีงามมีประโยชน์มากมายและมีโทษน้อย (ดวงเดือน พันธุมนาวิน ,2538)
จริยธรรม หมายถึง ความประพฤติปฏิบัติที่มีธรรมะเป็นตัวกำกับ จริยธรรมก็คือธรรมที่เป็นไป ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม (พระเทวินทร์ เทวินโท ,2544)
จริยธรรม ในความหมายของ สุนทร โคตรบรรเทา (2544) กล่าวว่า ถ้าจะตีความแคบ ๆ จริยธรรมีคงหมายถึง ศีลธรรมประการหนึ่ง และ คุณธรรมอีกประการหนึ่งรวมเป็นสองประการด้วยกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น